ข้อมูลปรับปรุงล่าสุด (14/1/2024)

กงสุลสัญจร มกราคม ปี 2567

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว จะออกให้บริการกงสุลสัญจร ณ เมืองนาโกยา จังหวัดไอจิ ในวันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2567 

ด้วยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว มีกำหนดจัดหน่วยเคลื่อนที่ไปให้บริการกงสุลสัญจร ณ เมืองนาโกยา จังหวัดไอจิ ในวันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2567 ระหว่างเวลา 10.00 – 15.00 น. ณ สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ เมืองนาโกยา ห้องประชุมชั้น 1 ตึกโควะ (ที่อยู่ : Kowa Headquarters Building 1 F, 3-6-29 Nishiki, Naka-ku, Nagoya-shi, Aichi-ken) หมายเลขโทรศัพท์ (052) 963-3451 โดยสถานเอกอัครราชทูตฯ จะให้บริการด้านหนังสือเดินทาง ทะเบียนราษฎร/ทะเบียนครอบครัวและให้คำปรึกษาด้านกงสุลที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ การให้บริการกงสุลสัญจรไม่ได้เปิดให้บริการด้านบัตรประจำตัวประชาชนเนื่องจากข้อจำกัดด้านวัสดุอุปกรณ์ 

เพื่อประโยชน์ของผู้ร้องที่จะได้รับบริการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สถานเอกอัครราชทูตฯ ขอแนะนำให้ผู้ที่ประสงค์ขอรับบริการงานกงสุลสัญจรให้ลงทะเบียนนัดหมายล่วงหน้าโดยสามารถลงทะเบียนได้ตามช่องทางที่ปรากฏด้านล่าง ส่วนผู้ที่ไม่สามารถลงทะเบียนเพื่อนัดหมายล่วงหน้าได้หรือมีความจำเป็นต้องขอรับบริการโดยไม่ได้ลงทะเบียนนัดหมายล่วงหน้า สามารถรับบัตรคิวได้ตั้งแต่เวลา 10.00 น. โดยบัตรคิวมีจำนวนจำกัด และผู้รับบัตรคิวจะสามารถยื่นเรื่องรับบริการได้ตามเวลาที่กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ จะให้บริการแก่ผู้ที่ลงทะเบียนนัดหมายล่วงหน้าก่อนและในกรณีที่ผู้รับบัตรคิวไม่แสดงบัตรคิวภายในเวลาที่กำหนด

สถานเอกอัครราชทูตฯ อาจไม่สามารถให้บริการแก่ผู้ถือบัตรคิวดังกล่าวได้
สถานเอกอัครราชทูตฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดการลงทะเบียน หากมีผู้ลงทะเบียนเต็มจำนวนที่สามารถให้บริการได้ รวมถึงยกเลิกหรือปรับเปลี่ยนกำหนดการจัดให้บริการกงสุลสัญจร ทั้งนี้ ขอให้ผู้ประสงค์ขอรับบริการกงสุลสัญจรโปรดติดตามประกาศบนเว็บไซต์สถานเอกอัครราชทูตฯ อย่างใกล้ชิด
อนึ่ง สถานเอกอัครราชทูตฯ ขอความร่วมมือผู้ที่ประสงค์รับบริการในวันดังกล่าว กรุณานำบัตรประจำตัวประชาชนไทยที่มีชิป (Smart Card) มาด้วย และกรุณาตรวจสอบเอกสารที่จำเป็นต้องนำมายื่นจากข้อมูลบนเว็บไซต์ของสถานเอกอัครราชทูตฯ หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากสถานเอกอัครราชทูตฯ ดังรายละเอียดด้านล่าง

จึงขอประกาศมาเพื่อโปรดทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ 12 มกราคม 2567
****************************
การจองคิวสำหรับบริการหนังสือเดินทางกงสุลสัญจร ที่ https://www.thaiconsularservice.jp/tokyo-passport/mobile/
(ผู้ขอรับบริการหนังสือเดินทางกรุณานำ หนังสือเดินทางเล่มล่าสุดและบัตรประจำตัวประชาชนไทยที่มีชิป (Smart Card) มาด้วย)
การจองคิวสำหรับบริการด้านนิติกรณ์ (สมรส/หย่า/มอบอำนาจ/แจ้งเกิด) กงสุลสัญจร ที่ https://www.thaiconsularservice.jp/tokyo-legal/mobile/
****************************
ข้อมูลการเตรียมการด้านเอกสาร
สำหรับหนังสือเดินทาง https://site.thaiembassy.jp/th/services/passport/65/
สำหรับนิติกรณ์/ทะเบียนราษฎร https://site.thaiembassy.jp/th/services/legalization/
รายละเอียดเพิ่มเติมตาม https://site.thaiembassy.jp/th/news/consular/12238/

ด้วยวันนี้ (จันทร์ที่ 1 มกราคม 2567) เวลาประมาณ 16.16 น. ตามเวลาท้องถิ่นในญี่ปุ่น (เร็วกว่าไทย 2 ชั่วโมง) เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.6 แมกนิจูดโดยมีศูนย์กลางในพื้นที่เขตโนโตโจ จังหวัดอิชิคาวะ ทางตอนกลางของญี่ปุ่น ซึ่งห่างจากกรุงโตเกียวประมาณ 526 กิโลเมตร โดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นประกาศเตือนว่าอาจเกิดคลื่นสึนามิ ความสูง 3-5 เมตร ตั้งแต่ช่วงเวลา 14.20 น. ที่จังหวัดอิชิคาวะ จังหวัดโทยามะ จังหวัดฮอกไกโด (โอตารุ) จังหวัดนีกาตะ จังหวัดฟุคุอิ ตอนเหนือของจังหวัดเฮียวโกะ และจังหวัดยามากาตะ รวมถึงให้ระวังภัยคลื่นสึนามิในจังหวัดใกล้เคียง โดยคลื่นอาจจะสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ในแต่ละพื้นที่และอาจมีประกาศเตือนในพื้นที่อื่น ๆ เพิ่มเติม ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ประกาศให้ประชาชนที่อาศัยบริเวณพื้นที่ดังกล่าว อย่าเข้าใกล้ชายฝั่งหรือปากแม่น้ำ จนกว่าจะมีประกาศยกเลิกสถานการณ์เตือนภัย

ในขณะนี้ยังไม่มีรายงานคนไทยได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตเนื่องมาจากเหตุการณ์ดังกล่าว  

อย่างไรก็ดี ขอให้ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวโปรดดูแลรักษาตัวและเฝ้าระวังสถานการณ์โดยติดตามข่าวสารของทางการญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง 

กรณีฉุกเฉิน สามารถติดต่อสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ได้ทางหมายเลขโทรศัพท์ HOTLINE  +8190-4435-7812

การลงทะเบียนเลือกตั้งนอกอาณาเขต ปี 2566

สถานเอกอัครราชทูตไทย  กรุงโตเกียว ได้ประกาศลงทะเบียนทำบัตรประชาชนในเดือนธันวาคมนี้มีการเปลี่ยนแปลงบ้างขั้นตอนสามารถลงทะเบียนและรายละเอียดได้ตามลิ้งค์ข้างล่างนี้...

 

https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLScjTBLHZErm_oRaAMicVAMPHr3PBEXtAbHNTPGVBdci8XrkYg/viewform?fbclid=IwAR0ZRaaLnhgwrLmkIrlkkFbnNSZAjCS4l6WHb2FFO_63TfZq1Ev2TXODm1I

 

 

 

 

 

 

 

อบรมออนไลน์หัวข้อ “เครียดเป็น ก็ไม่ซึมเศร้านะ!”

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ขอประชาสัมพันธ์เชิญคนไทยในญี่ปุ่นที่สนใจเข้าร่วมรับฟังการบรรยายออนไลน์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หัวข้อ “เครียดเป็น ก็ไม่ซึมเศร้านะ!” ผ่านระบบ Zoom Online ในวันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม 2565 เวลา 10.30-12.30 น. (ตามเวลาญี่ปุ่น ซึ่งเร็วกว่าไทย 2 ชั่วโมง) บรรยายโดยนายแพทย์ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล จิตแพทย์ และอดีตนายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมสุขภาพจิต

ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมได้ที่ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSf9RTSl3n2LONaZqj3IjJUtHWjUve1kyjhfot3K6GRCnHbWaQ/viewform

https://www.facebook.com/147742642093735/posts/pfbid02KgEG1o6JVxCqsuJXv4KaHJr6z1RjiDUXy6fJZCaeCBP2WyUfXhMUeFnuxuafguV2l/?d=n

ใบสมัครอบรมออนไลน์ เรื่อง “การขอและการสละสัญชาติไทย”

ใบสมัครอบรมออนไลน์ เรื่อง “การขอและการสละสัญชาติไทย”   วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน 2565 เวลา : 10:00~11:30 น. (เวลาญี่ปุ่น)

ตามลิงก์ข้างล่างนี้ค่ะ
https://forms.gle/iWMrRAAiTuNHaomZ8

เชิญร่วมอบรมออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Zoom ฟรี!!!

เชิญร่วมวิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน ในประเทศญี่ปุ่น


🎉🎉 มีข่าวดีมาบอกค่ะ🎉🎉

มีข่าวดีมาบอกค่ะ🎉🎉🎉🎉

เครือข่ายคนไทยในญี่ปุ่น(TNJ) ได้รับการสนับสนุนจากสถานเอกอัครราชทูตไทย จัดทำหนังสือคู่มือคันจิสำหรับคนไทยในญี่ปุ่น เป็นตัวอักษรคันจิที่เราพบบ่อยในชีวิตประจำวัน และวิธีจดจำคันจิแบบง่ายๆ พร้อมเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย อ่านสนุก เรียนรู้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ 

ผู้สนใจกรุณาติดต่อกลุ่มอาสาสมัครเครือข่ายคนไทยในญี่ปุ่นในเขตที่ท่านอาศัยอยู่ และสามารถขอรับได้ที่สถานทูตและสถานกงสุลไทยนะคะ

หมายเหตุ
๑. หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ทำขึ้นเพื่อให้คนไทยในญี่ปุ่นได้ใช้ประโยชน์ ห้ามจัดจำหน่าย แต่หากท่านใดยินดีที่จะสนับสนุนเงินทุนเพื่อนำไปจัดพิมพ์เพิ่มเติมในครั้งต่อไป กรุณาติดต่อ เครือข่ายคนไทยในญี่ปุ่นนะคะ

๒. หากท่านได้นำหนังสือไปใช้ประโยชน์แล้ว กรุณาสละเวลาเล็กน้อย ทำแบบสอบถามเพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาหนังสือให้ดีขึ้นในครั้งต่อๆไป โดยสแกนคิวอาร์โค้ดที่อยู่ปกหลัง ซึ่งแสดงแบบฟอร์มแบบสอบถามให้ท่านได้ตอบอย่างสะดวกและรวดเร็วค่ะ  ขอขอบคุณล่วงหน้ามาณ.โอกาสนี้

เชิญร่วมอบรมออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Zoom


เชิญน้อง ๆ ร่วมกิจกรรม โครงการเยาวชนเชื้อสายไทยคืนถิ่นออนไลน์ประจำปี ๒๕๖๔

เชิญน้อง ๆ ร่วมกิจกรรม
โครงการเยาวชนเชื้อสายไทยคืนถิ่นออนไลน์ประจำปี ๒๕๖๔ 

🇹🇭 "อยู่ที่ไหน หัวใจก็ไทย"
อย่ารอช้า ๑ ปีมีครั้งเดียว กับการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศ 
ถ้ายังเป็นวัยรุ่นยุคใหม่ อายุระหว่าง ๑๒-๑๘ ปี มีเชื้อสายไทยและเติบโตในต่างประเทศ(*) สมัครเข้าร่วมเลย รออะไร 

สมัครตั้งแต่วันนี้ - ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๔ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการร่วมโครงการ

https://bit.ly/2UYJkis
หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่:
Email: thaiyouth.homecoming@gmail.com
หรือ โทร: (+66)6 - 5502 - 8446

สามารถติดตามข้อมูลได้ทาง
Facebook: Thai Youth Homecoming

🇹🇭🇹🇭🇹🇭 แค่ใจไทยมาก็ใช่แล้ว เรารออยู่ 🇹🇭🇹🇭🇹🇭

รับสมัคร !!! การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมและสร้างเครือข่ายอาสาสมัครแรงงานไทยในญี่ปุ่น


อบรมออนไลน์ โดยโปรแกรม Zoom “การช่วยเหลือผู้อื่นอย่างมีความสุข” โดย นายแพทย์ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล

ในการอบรมมี 2 วันค่ะ สามารถสมัครอบรมได้ตามลิ้งค์ค่ะ 

รายละเอียดต่างๆ อยู่ในโบชัวร์ล่างล่างนี้ค่ะ

อบรม วันที่ 29 พ.ค. 64

https://docs.google.com/forms/d/1Lm8MXO3OiWkviRv0kPY4pWvO_YSH_RJ8a-j_pg2EYb0/edit?usp=sharing

อบรม วันที่ 30 พ.ค. 64

https://docs.google.com/forms/d/1U4OgzyukSledVl9N-VffkermRB9Ku-1-4yi1a19G9AQ/edit?usp=sharing


ข่าวฝากประชาสัมพันธ์

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ขอเชิญเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการผ่านระบบประชุมทางไกลออนไลน์ (Video Conference) 

🥰 เพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายอาสาสมัครให้คำปรึกษาแก่หญิงไทยที่แต่งงานกับชาวต่างชาติ ครั้งที่ 5 

📆 วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม 2564
⏱ เวลา 15.00 - 17.15 น. (ประเทศไทย)
💡 ลิ้งค์สมัครเข้าร่วมการประชุม https://forms.gle/JfeHtFrVDFtGovFWA
👉🏻 ลิ้งค์เข้าร่วมประชุม-->>Topic: การประชุมเชิงปฏิบัติการผ่านระบบประชุมทางไกลออนไลน์ (Video Conference) เพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายอาสาสมัครให้คำปรึกษาแก่หญิงไทยที่แต่งงานกับชาวต่างชาติ ครั้งที่ 5

📌 Time: May 30, 2021 02:30 PM Bangkok
Join Zoom Meeting
https://zoom.us/j/3245278403
Meeting ID: 324 527 8403
Passcode: icp12345
#น้องหญิงบอกกล่าว #กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว #กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์


อบรมออนไลน์ : ความรู้สู้ภัยพิบัติและการหลีกภัยขณะที่มีการระบาดของ Covid-19


ข่าวประชาสัมพันธ์


อบรมออนไลน์ ฟรี! : อยู่อย่างไรปลอดภัยจากโควิด

การใช้โปรแกรม Zoom


ประกาศ!! การลงทะเบียนกลับเมืองไทยระบบใหม่ เริ่มเดือนธันวาคมนี้


สถานเอกอัครราชทูตไทย  กรุงโตเกียว ได้ประกาศลงทะเบียนกลับเมืองไทยในเดือนธันวาคมนี้มีการเปลี่ยนแปลงบ้างขั้นตอนสามารถลงทะเบียนและรายละเอียดได้ตามลิ้งค์ข้างล่างนี้...


http://site.thaiembassy.jp/th/news/announcement/9672/


ประกาศ!! การลงทะเบียนทำหนังสือเดินทาง เริ่มเดือนธันวาคมนี้

สถานเอกอัครราชทูตไทย  กรุงโตเกียว ได้ประกาศลงทะเบียนทำหนังสือเดินทางในเดือนธันวาคมนี้มีการเปลี่ยนแปลงบ้างขั้นตอนสามารถลงทะเบียนและรายละเอียดได้ตามลิ้งค์ข้างล่างนี้...


https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSeGvkG2Eoe8d0FVNxxH5GL9HbXFUgysVTtK9XLs_4rYKqPXxQ/viewform?fbclid=IwAR0gxSWVfc2qm_0sVbM0AFbuin1wg-2KONlul2kyYs2wv4nudM1LB7R34PU


ประกาศ!! การลงทะเบียนทำบัตรประชาชน เริ่มเดือนธันวาคมนี้

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียวขอเชิญชวนประชาชนไทยในญี่ปุ่นลงทะเบียนเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร

ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 เพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป และคณะกรรมการการเลือกตั้งได้กำหนดให้วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เป็นวันเลือกตั้ง สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว จะจัดการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรทางไปรษณีย์ โดยให้ส่งบัตรเลือกตั้งถึงสถานเอกอัครราชทูตฯ ภายในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566

ในการนี้ หากผู้มีสิทธิเลือกตั้งประสงค์จะขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร สามารถลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรได้ 2 วิธี (ทุกท่านที่จะเลือกตั้งต้องลงทะเบียนใหม่) ได้แก่

1. ลงทะเบียนด้วยตนเองทางอินเทอร์เน็ตที่ https://stat.bora.dopa.go.th/Election/popout/#/popout ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2566 จนถึงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2566 เวลา 24.00 น. ตามเวลาประเทศไทย

2. ยื่นคำขอลงทะเบียนกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว โดยกรอกแบบฟอร์ม ส.ส. 1/7 (นร) (สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่เว็บไซต์สถานเอกอัครราชทูตฯ ที่  https://site.thaiembassy.jp/upload/iblock/57d/SS1-7%20nor%20ror.pdf ) พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือสำเนาบัตรประจำตัว
ที่มีภาพถ่ายที่ออกให้โดยทางราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรอิสระที่มีหมายเลขประจำตัว 13 หลัก และสำเนาหลักฐานซึ่งแสดงที่อยู่ปัจจุบันในญี่ปุ่นเพิ่มเติม เช่น สำเนาบัตรประจำตัวผู้พำนักอาศัย (ไซริวการ์ด) ใบเรียกเก็บค่าน้ำหรือค่าไฟฟ้า ใบเรียกเก็บค่าโทรศัพท์ เป็นต้น เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการส่งเอกสารเลือกตั้งไปยังที่อยู่ที่ผิดหรือไม่ชัดเจน โดยสามารถส่งคำร้องได้ 2 ช่องทาง ดังนี้

2.1 ส่งคำขอลงทะเบียนด้วยตนเองที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ที่อยู่ 3-14-6, Kamiosaki, Shinagawa-ku, Tokyo 141-0021 ระหว่างเวลา 09.00-11.30 น. และ 13.30-15.30 น. ในวันทำการ หมดเขตลงทะเบียนวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2566

2.2 ส่งคำขอลงทะเบียนทางไปรษณีย์ โดยส่งไปที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ที่อยู่ 3-14-6, Kamiosaki, Shinagawa-ku, Tokyo 141-0021  ทั้งนี้ ผู้ลงทะเบียนด้วยช่องทางไปรษณีย์โปรดส่งเอกสารโดยเผื่อเวลาให้ถึงสถานเอกอัครราชทูตฯ ภายในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2566 เพื่อดำเนินการ
ตรวจเอกสารและลงทะเบียนให้เสร็จสิ้นก่อนเวลาหมดเขตลงทะเบียนในประเทศไทย 

ทั้งนี้ วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2566 สถานเอกอัครราชทูตฯ จะติดประกาศรายชื่อผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรที่สถานเอกอัครราชทูตฯ หากท่านลงทะเบียนแล้วแต่ตรวจสอบแล้วไม่พบรายชื่อ สามารถติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อขอเพิ่มชื่อได้ภายในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2566  
 
จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

ประกาศ  ณ  วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2566

หมายเหตุ
(1) สำหรับคนไทยในญี่ปุ่นที่ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียวได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 090-7805-8899 ทุกวันทำการ วันจันทร์-วันศุกร์ ระหว่างเวลา 09.00-12.00 น. และ 13.30-17.30 น.

(2) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดมิเอะ ชิกะ เกียวโต โอซากา เฮียวโกะ นาระ วากายามะ โทกูชิมะ คากาวะ เอฮิเมะ และโคจิ สามารถติดต่อขอลงทะเบียนได้ที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา ที่อยู่ Bangkok Bank Building, 4th Floor, 1-9-16 Kyutaro-machi, Chuo-ku, Osaka-shi Osaka 541-0056 หมายเลขโทรศัพท์ (06) 6262-9226-7 และผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัด ทตโตริ ชิมาเนะ โอกายามะ ฮิโรชิมะ ยามากูจิ ฟูกูโอกะ ซากะ นางาซากิ คูมาโมโตะ โออิตะ มิยาซากิ คาโกชิมะ และโอกินาวะ สามารถติดต่อขอลงทะเบียนได้ที่สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฟูกูโอกะ ที่อยู่ Dai Ichi Myojo, 2nd Floor, 4-1-37, Tenjin, Chuo-ku, Fukuoka-shi, Fukuoka 810-0001 หมายเลขโทรศัพท์ (09) 2739-9090

งดการจัดกิจกรรมกงสุลสัญจร จังหวัดอิบารากิ ประจำปี 2563



ขอผ่อนผันการตรวจเลือกทหาร ปี 2563



สำหรับลูกครึ่งชายไทย หรือชายไทยที่พำนักในญี่ปุ่น
ถ้ายังมีหน้าที่ในการศึกษาเล่าเรียนให้ไปดำเนินการ
เรื่องขอผ่อนผันการตรวจเลือกทหารด้วยนะคะ

ข้อมูลจาก:ผู้อำนวยการกองสัสดี  พันเอกเสกสรรค์ เสืออิ่ม

ประกาศ!! ขอเลื่อนการอบรมล่ามตำรวจ


โครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนไทยในญี่ปุ่น : อบรมล่ามตำรวจ

ใบสมัครอบรมล่ามตำรวจ


ข่าวใหญ่ข่าวดี


หลังเกิดน้ำท่วมควรทำอย่างไร


ダウンロード
Revisedใบสมัครเข้าอบรม.pdf
PDFファイル 106.4 KB

สวัสดีปีใหม่ 2561

รวมเรื่องเล่าพระราชอารมณ์ขันของในหลวงรัชกาลที่ 9

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช Cr.Thai PBS


เลี้ยงลูกแบบสมเด็จย่า


ขอเชิญชวนชาวไทยในญี่ปุ่นเข้าร่วมโครงการจิตอาสาเฉพาะกิจ งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร


เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมอบรม

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับล่ามมัคคุเทศก์และล่ามมัคคุเทศก์จิตอาสา

ダウンロード
ใบสมัครเข้าร่วมการอบรม (PDF)
appli17.pdf
PDFファイル 76.3 KB

หนังสือขอบคุณการสนับสนุนโครงการ “ร่วมด้วย ช่วยกัน” การออกร้านในงานเทศกาลไทยครั้งที่ 18

                                                                                                                                                     24 พฤษภาคม 2560 

 

      เครือข่ายคนไทยในญี่ปุ่นจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2550 โดยมีจุดประสงค์ในการทำกิจกรรมเพื่อชุมชนคนไทยในประเทศญี่ปุ่น  และได้รับการสนับสนุนในการจัดตั้งจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว และ กรมการกงสุล กระทรวงต่างประเทศไทย   

      หนึ่งในกิจกรรมของเครือข่ายคนไทยในญี่ปุ่น คือ การร่วมงานออกร้าน ในงานเทศกาลไทย 

ที่สวนสาธารณะโยโยกิ เขตชิบุยะ กรุงโตเกียว โดยมีจุดประสงค์เพื่อหารายได้สำหรับการทำกิจกรรมของเครือข่าย รวมถึง เป็นการส่งเสริมการทำงานร่วมกันด้วยน้ำหนึ่งใจเดียวกันเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่าย และเปิดโอกาสให้สมาชิกได้เรียนรู้การทำกิจกรรมกันร่วมกัน ให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และเป็นการเพิ่มศักยภาพของสมาชิกในแต่ละเขตชุมชน

ในปี 2560 เครือข่ายฯได้ร่วมออกร้านจำหน่ายลูกชิ้นปิ้ง น้ำผลไม้ไทย และน้ำสมุนไพรไทย ในงานเทศกาลไทย ครั้งที่ 18    ซึ่งจัดให้มีขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 13 และวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2560  ในการจัดงานครั้งนี้ทางเครือข่าย ได้รับความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากอาสาสมัครคนไทยในแตะละเขตเป็นอย่างดียิ่ง เช่นได้รับบริจาควัตถุดิบ อาทิ ลูกชิ้น ข้าวสาร ไข่ ผักชีฯลฯ รวมถึงความร่วมมือจากทุกท่านในการเตรียมงานและร่วมกันจำหน่ายในวันงาน 

เครือข่ายคนไทยในญี่ปุ่น ขอขอบพระคุณอาสาสมัครทุกท่านเป็นอย่างสูงที่ได้ให้ความร่วมมือและการสนับสนุนอย่างดียิ่ง และขอขอบคุณลูกค้าทุกท่านที่มาอุดหนุน ท่ามกลางสายฝนในวันเสาร์ และวันอาทิตย์ ที่มาทักทายที่ร้านกันอย่างคับคั่ง จนทำให้ได้รับความสำเร็จสมดังจุดมุ่งหมาย

 

     รายได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย ทางเครือข่ายจะนำไปใช้ในการสนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพคนไทยในญี่ปุ่นต่อไป ซึ่งในขณะนี้เครือข่ายมีลูกข่ายจาก 12 จังหวัด คือ  โตเกียว ชิบะ อิบารากิ คานากาวะ ไซตามะ  นากาโนะ โทจิกิ ไอจิ ชิซึโอกะ กุมมะ ยามานาชิ และ นีกาตะ 

 

                                                                                                                          ด้วยความปรารถนาดี

                                                                                                                               วีริน ทาเคดะ

                                                                                                                  ประธานเครือข่ายคนไทยในญี่ปุ่น

 

ชมภาพบรรยากาศงานเทศกาลไทยเพิ่มเติมได้ที่นี่ 

 

 


ขอเชิญชมภาพยนต์แอนิเมชั่นเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระปรีชาสามารถด้านนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา เรื่อง “ฟ้าทอฝัน” ทางยูทูป (You Tube) ช่อง “The Inspiring King DIP)


◎ข่าวกิจกรรมที่ผ่านมา

การอบรมความรู้พื้นฐานในการเป็นล่ามทางกฎหมาย 

วันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2560

ณ.หอประชุม สถานเอกอัครราชทูต ณ.กรุงโตเกียว

จัดโดย เครือข่ายคนไทยในญี่ปุ่น(TNJ) โดยได้รับการสนับสนุนจาก สถานเอกอัครราชทูต ณ.กรุงโตเกียว และได้รับความร่วมือจาก กลุ่มเวลาวารี และสมาคมเด็กไทยกรุ๊ป

กิจกรรมที่จัดขึ้นในครั้งนี้ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีเนื่องจากความร่วมแรงร่วมใจของทุกท่าน เครือข่ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องจากหน่วยงานต่างๆและอาสาสมัครที่มีจิตอาสาทุกท่านที่มาเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ 

เครือข่ายหวังว่า กิจกรรมในครั้งนี้จะเป็นแนวทางและทางเลือกหนึ่งในการประกอบอาชีพของคนไทยที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นในอนาคต 

ด้วยความปรารถนาดี

เครือข่ายคนไทยในญี่ปุ่น


อนุสัญญากรุงเฮก : กฎระเบียบในการพาเด็กข้ามเขตแดนประเทศ

กรุณาอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในเวบไซต์ของกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่น

http://www.mofa.go.jp/mofaj/files/000143601.pdf


เครือข่ายคนไทยในญี่ปุ่น ขอน้อมนำ "9คำสอน"ของ พระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ  มาเผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์และสิริมงคลแก่ชีวิต ซึ่งพระบรมราโชวาทที่คัดเลือกมานี้สามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันและแก้ไขปัญหาการทำงานได้ด้วย

 

 

 

1.คนดี

“ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดี และคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้”

(พระบรมราโชวาทในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ จังหวัดชลบุรี 11 ธันวาคม 2512)

 

2.อนาคตทำนายได้

“ทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เกิดที่เป็นอยู่แก่เราในวันนี้ ย่อมมีต้นเรื่องมาก่อน ต้นเรื่องนั้นคือ เหตุ สิ่งที่ได้รับคือ ผล และผลที่ท่านมีความรู้อยู่ขณะนี้ จะเป็นเหตุให้เกิดผลอย่างอื่นต่อไปอีก คือ ทำให้สามารถใช้ความรู้ที่มีอยู่ทำงานที่ต้องการได้ แล้วการทำงานของท่าน ก็จะเป็นเหตุให้เกิดผลอื่นๆ ต่อเนื่องกันไปอีก ไม่หยุดยั้ง ดังนั้นที่พูดกันว่า ให้พิจารณาเหตุผลให้ดีนั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ให้พิจารณาการกระทำหรือกรรมของตนให้ดีนั่นเอง คนเราโดยมากมักนึกว่าอนาคตจะเป็นอย่างไรเราทราบไม่ได้แต่ที่จริงเราย่อมจะทราบได้บ้างเหมือนกัน เพราะอนาคต ก็คือ ผลของการกระทำในปัจจุบัน”

(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 8 กรกฎาคม 2519)

 

3.ความดี

“การทำดีนั้นทำยากและเห็นผลช้า แต่ก็จำเป็นต้องทำ เพราะหาไม่ความชั่วซึ่งทำได้ง่าย จะเข้ามาแทนที่และจะพอกพูนขึ้นอย่างรวดเร็วโดยไม่ทันรู้สึกตัว แต่ละคนจึงต้องตั้งใจและเพียรพยายามให้สุดกำลัง ในการสร้างเสริมและสะสมความดี”

 (พระบรมราโชวาทพระราชทาน แก่ผู้สำเร็จการศึกษา ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ สวนอัมพร 14 สิงหาคม 2525)

 

4.การทำงาน

“เมื่อมีโอกาสและมีงานทำ ควรเต็มใจทำโดยไม่จำเป็นต้องตั้งข้อแม้ หรือเงื่อนไขอันใด ไว้ให้เป็นเครื่องกีดขวาง คนที่ทำงานได้จริงๆนั้น ไม่ว่าจะจับงานสิ่งใด ย่อมทำได้เสมอ ถ้ายิ่งมีความเอาใจใส่ มีความขยัน และ ความซื่อสัตย์สุจริต ก็ยิ่งจะช่วยให้ประสบผลสำเร็จในงานที่ทำสูงขึ้น”

(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา 8 กรกฎาคม 2530)

 

5.คุณธรรมของคน

“ประการแรก คือ ความซื่อสัตย์ ประการที่สอง คือ การรู้จักข่มใจฝึกใจตนเอง ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัตย์ความดีนั้น ประการที่สาม คือ การอดทน อดกลั้น และอดออมที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัตย์สุจริต ประการที่สี่ คือ การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน เพื่อประโยชน์ส่วนรวมคุณธรรมสี่ประการนี้ ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝังและบำรุงให้เจริญงอกงาม จะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุขความร่มเย็นและมีโอกาสที่จะปรับปรุงพัฒนาให้มั่นคงก้าวหน้าต่อไป”

 (พระบรมราโชวาท ในพิธีบรวงสรวง สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า 5 เมษายน 2535)

 

6.ความเพียร

“ความเพียรที่ถูกต้องเป็นธรรม และพึงประสงค์นั้นคือความเพียรที่จะกำจัดความเสื่อมให้หมดไป และระวังป้องกันมิให้เกิดขึ้นใหม่ อย่างหนึ่ง กับความเพียรที่จะสร้างสรรค์ความดีงาม ให้บังเกิดขึ้นและระวังรักษามิให้เสื่อมสิ้นไป อย่างหนึ่ง ความเพียรทั้งสองประการนี้ เป็นอุปการะอย่างสำคัญ ต่อการปฏิบัติตน ปฏิบัติงาน ถ้าทุกคนในชาติจะได้ตั้งตนตั้งใจอยู่ในความเพียรดังกล่าว ประโยชน์และความสุขก็จะบังเกิดขึ้นพร้อม ทั้งแก่ส่วนตัวและส่วนรวม”

(พระราชดำรัสพระราชทานในพิธีกาญจนาภิเษก ทรงครองราชย์ ครบ 50 ปี พ.ศ.2539)

 

7.แก้ปัญหาด้วยปัญญา

“ปัญหาทุกอย่างไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ มีทางแก้ไขได้ ถ้ารู้จักคิดให้ดี ปฏิบัติให้ถูก การคิดได้ดีนั้น มิใช่การคิดได้ด้วยลูกคิด หรือด้วยสมองกล

เพราะโลกเราในปัจจุบันจะวิวัฒนาการไปมากเพียงใดก็ตาม ก็ยังไมมีเครื่องมืออันวิเศษชนิดใด สามารถขบคิดแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างสมบูรณ์

การขบคิดวินิจฉัยปัญหา จึงต้องใช้สติปัญญา คือคิดด้วยสติรู้ตัวอยู่เสมอ เพื่อหยุดยั้งและป้องกันความประมาทผิดพลาด และอคติต่างๆมิให้เกิดขึ้น

ช่วยให้การใช้ปัญญาพิจารณาปัญหาต่างๆ เป็นไปอย่างเที่ยงตรง ทำให้เห็นเหตุเห็นผลที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นกระบวนการได้กระจ่างชัด ทุกขั้นตอน”

(พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 1 สิงหาคม 2539)

 

8. คนเราจะต้องรับและจะต้องให้ 

“คนเราจะเอาแต่ได้ไม่ได้ คนเราจะต้องรับและจะต้องให้ หมายความว่าต่อไป และเดี๋ยวนี้ด้วยเมื่อรับสิ่งของใดมา ก็จะต้องพยายามให้ ในการให้นั้น ให้ได้โดยพยายามที่จะสร้างความสามัคคีให้หมู่คณะและในชาติ ทำให้หมู่คณะและชาติประชาชนทั้งหลายมีความไว้ใจซึ่งกันและกันได้ ช่วยที่ไหนได้ก็ช่วย ด้วยจิตใจที่เผื่อแผ่โดยแท้”

(พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 20 เมษายน 2521)

 

9.พูดจริง ทำจริง 

“ผู้หนักแน่นในสัจจะพูดอย่างไร ทำอย่างนั้น จึงได้รับความสำเร็จ พร้อมทั้งความศรัทธาเชื่อถือและความยกย่องสรรเสริญ จากคนทุกฝ่าย การพูดแล้วทำ คือ พูดจริง ทำจริง จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมเกียรติคุณของบุคคลให้เด่นชัด และสร้างเสริมความดี ความเจริญ ให้เกิดขึ้นทั้งแก่บุคคลและส่วนรวม”

 (พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 10 กรกฎาคม 2540)

 

ขอบคุณข้อมูลจาก เวบไซต์ MThai


ข่าวประชาสัมพันธ์

รายการเดินทางสร้างชาติ

ตอน ศูนย์ช่วยเหลือหญิงไทยในต่างประเทศ


ขอเชิญดาว์นโหลด เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง ความรู้พื้นฐานสำหรับผู้ต้องการเป็นล่ามในญี่ปุ่น"

ダウンロード
อบรมล่าม 20160313 ข้อมูลจาก อ.โยชิทาเกะ.
PDFファイル 1.7 MB

ข่าวสาร

 

 

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2559 คณะข้าราชการและเจ้าหน้าที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เยือนสถานทูตฯ เพื่อรับทราบข้อมูลสภาพความเป็นอยู่ที่คนไทยในญี่ปุ่นประสบปัญหาทางด้านต่างๆ ความเป็นอยู่ของคนไทยผ่านผู้แทนกลุ่มเครือข่ายคนไทยในญี่ปุ่น (TNJ) ที่สถานทูตฯ ให้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับโครงการการจัดสวัสดิการสำหรับกลุ่มไทยในต่างประเทศพื้นที่ประเทสญี่ปุ่น เพื่อพิจารณาแนวทางการช่วยเหลือคนไทยในญี่ปุ่นเพิ่มเติมต่อไป

 

 

 

ข่าวสาร

 

 

วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม 2559 พล.ต.อ. อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เยือนสถานทูตฯ เพื่อรับทราบข้อมูลสภาพความเป็นอยู่ที่คนไทยในญี่ปุ่นประสบปัญหา จากผู้แทนกลุ่มเครือข่ายคนไทยในญี่ปุ่น (TNJ) ที่สถานทูตฯ ให้การสนับสนุน เพื่อพิจารณาแนวทางการช่วยเหลือคนไทยในญี่ปุ่นเพิ่มเติม โดยมีท่านเอกอัครราชทูตและข้าราชการสถานทูตฯ เข้าร่วมด้วย

 

 

 


เมื่อวันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ ประธานเครือข่ายคนไทยในญี่ปุ่น ได้นำคณะเข้าคารวะ
ฯพณฯ นายบรรสาน บุนนาค เอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว เพื่อหารือแนวทางการพัฒนาให้ความช่วยเหลือคนไทยในญี่ปุ่น

ประกาศแต่งตั้งกรรมการเฉพาะกิจ

อนุมัติให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจ ดังต่อไปนี้

 

แต่งตั้งผู้ให้คำปรึกษาเครือข่ายฯ

- อ.เออิโกะ โคโบริ

- คุณมายูมิไนโต 

- อ.ยูริโกะ ไซโต 

           - อ.สุจินดา อิซุมิดะ

 

 

แต่งตั้งผู้ตรวจสอบกิจกรรมเครือข่ายฯ 

   - อ. ธราธร นากาศหิมะ  / ทองอินทร์ ยานนท์

 

แต่งตั้งผู้ดูแลโฮมเพจ เครือข่ายฯ 

  - พิมพ์เทพ อิดะ (นากาโนะ)  / เสาวลักษณ์ ฮิไร (โทจิกิ)

 

 

 


มายนัมเบอร์คืออะไร?

มาย นัมเบอร์ (my number/マイナンバー) คือ อะไร?

ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2558 คนไทยที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้พำนักในประเทศญี่ปุ่น หรือ จูมิงเฮียว (住民票) อยู่แล้ว จะเริ่มได้รับจดหมายที่แจ้งหมายเลข "มาย นัมเบอร์" หรือ "หมายเลขของฉัน" จากทางการญี่ปุ่น

หมายเลข "มาย นัมเบอร์" จะเป็นหมายเลขประจำตัว 12 หลัก ที่ใช้ในการเสียภาษีและประกันสังคมในประเทศญี่ปุ่น ตลอดชีพ จึงต้องระวังไม่ให้ผู้อื่นใช้หรือเก็บหมายเลขดังกล่าวแทน และระวังไม่แสดงหมายเลขดังกล่าวของท่านให้ผู้อื่นทราบ ผู้ฝ่าฝืนจะถูกลงโทษตามกฎหมายญี่ปุ่น

 

ขอเรียนเพิ่มเติมว่า ในจดหมายดังกล่าวจะไม่มีบัตร "มาย นัมเบอร์" เนื่องจากทางการญี่ปุ่นไม่ได้บังคับให้ทุกคนถือบัตรดังกล่าว หากท่านใดประสงค์จะมีบัตร "มาย นัมเบอร์" จะต้องติดต่อกับทางการญี่ปุ่นตามช่องทางที่ระบุในเอกสารเผยแพร่ของสำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น (ภาษาไทย) ดังแนบ ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามโดยตรงที่ คอลเซ็นเตอร์ของสำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น

 

1. "มายนัมเบอร์" เกี่ยวกับคนต่างชาติด้วยหรือไม่
มายนัมเบอร์ จะถูกออกให้กับ คนต่างชาติที่พำนักอยู่ในญี่ปุ่นโดยถูกกฎหมายเกินกว่า 3 เดือนและมีที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ บุคคลที่มีบัตรประจำตัวผู้มีถิ่นพำนักในญี่ปุ่น (ไซริวการ์ด) ผู้มีถิ่นพำนักถาวร (เอยู) ผู้ที่ได้รับสถานภาพผู้ลี้ภัย เป็นต้น ซึ่งไม่รวมนักท่องเที่ยว

2. "มายนัมเบอร์" คืออะไร
หมายเลข 12 หลัก ที่รัฐบาลญี่ปุ่นออกให้เพื่อให้หน่วยงานราชการญี่ปุ่นที่เกี่ยวข้องใช้ระบุตัวบุคคลในการเก็บภาษี ประกันสังคม และในช่วงที่เกิดเหตุภัยพิบัติ

3. จะรู้ "มายนัมเบอร์" ของตัวเองได้อย่างไร
เขตที่ท่านอยู่จะส่งจดหมาย/ไปรษณียบัตรแจ้งตัวเลข "มายนัมเบอร์" ของท่านไปที่บ้านของท่านในช่วงเดือนตุลาคมนี้เป็นต้นไป โดยตั้งแต่เดือนมกราคมปีหน้าเป็นต้นไป ท่านสามารถขอรับบัตร "มายนัมเบอร์" ได้ที่เขตที่ท่านอาศัยอยู่ โดยต้องติดต่อขอข้อมูลที่เขตที่ท่านอาศัยอยู่โดยตรง

4. ใครจะเป็นคนใช้ "มายนัมเบอร์"
หน่วยงานรัฐญี่ปุ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับประกันสังคม ภาษี และภัยพิบัติจะเป็นผู้ใช้ โดยต่อไป ท่านจะต้องกรอก "มายนัมเบอร์" ของท่านในการประกันหลังเกษียณ (เน็งคิง) ประกันตกงาน และประกันสุขภาพ การขอรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐ และการเสียภาษี เป็นต้น
โดยหากบริษัทที่จ้างงานท่านหรือทำประกันให้ท่านเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับประกันสังคม ภาษีแทนท่าน ท่านก็อาจต้องแจ้ง "มายนัมเบอร์" ของท่าน ตอนที่มอบอำนาจให้บริษัทดังกล่าวด้วย

5. ท่านสามารถเปิดเผย "มายนัมเบอร์" ของท่านให้บุคคลใดก็ได้?
ท่านต้องไม่เปิดเผย "มายนัมเบอร์" ให้บุคคลใด โดยควรแจ้งให้เฉพาะหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเสียภาษี ประกันสังคม และภัยพิบัติเท่านั้น อาทิ กรมสรรพากร เขตที่ท่านอาศัย บริษัทที่ว่าจ้างงานท่าน หน่วยงานดูแลประกันหลังเกษียณ (เน็งคิง) บริษัทประกันสุขภาพ เป็นต้น

อ้างอิงจาก โฮมเพจสถานเอกอัคราชทูตไทย กรุงโตเกียว

 

 

อ่านเพิ่มเติมจากเวบไซต์สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น (ภาษาไทย) http://www.cas.go.jp/jp/seisaku/bangoseido/pdf/lang/21.pdf


ขอแนะนำหนังสือ "คู่มือสุขภาพคนไทยในญี่ปุ่น" ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมดีๆที่เครือข่ายได้ร่วมมือร่วมใจกันจัดทำเพื่อเพื่อนๆคนไ...

Posted by Thai Network in Japan on Monday, August 24, 2015

ประธานเครือข่ายคนไทยในญี่ปุ่นและคณะกรรมการบริหารเครือข่าย เข้าเยี่ยมคารวะท่านเอกอัครราชทูตไทย เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Posted by Thai Network in Japan on Monday, August 24, 2015

ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับกฏหมายตรวจคนเข้าเมือง

ダウンロード
"ท่านพร้อมหรือยัง"
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
all.pdf
PDFファイル 2.2 MB

แนะนำเวบไซต์ที่น่าสนใจสำหรับคนไทยในต่างประเทศ


การเตรียมตัวเดินทางมาญี่ปุ่นสำหรับนักท่องเที่ยวไทย

การเตรียมตัวเดินทาง

            ก่อนออกจากบ้าน โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าท่านไม่ลืมสิ่งของสำคัญใด ๆ โดยเฉพาะ

 หนังสือเดินทาง ยาประจำตัว กระเป๋าสตางค์ กล้องถ่ายรูป โทรศัพท์มือถือ กระเป๋าเดินทาง 

-กรุณานำกระเป๋าของท่านส่งให้เจ้าหน้าที่ เพื่อทำการเช็ครายชื่อและติดป้ายผูกกระเป๋า จากนั้นนำกระเป๋าผ่านเครื่องตรวจ X-Rayสำหรับสายการบินแอร์โดยทั่วไป โหลดได้ 1 ใบ ใบละไม่เกิน 20 กิโลกรัม

กระเป๋า (ใบเล็ก) ที่ต้องการถือขึ้นเครื่องไม่ต้องทำการX-Ray

-กรณีที่กระเป๋าเดินทางของท่านสูญหายในระหว่างการเดินทาง ทางบริษัททัวร์ไม่สามารถรับผิดชอบใดๆทั้งสิ้น

ข้อมูลเดินทางท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น

ระเบียบศุลกากร

§ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของญี่ปุ่น จะพิจารณาให้เฉพาะ นักท่องเที่ยว ที่มาเที่ยวโดยสุจริตเท่านั้น ! ที่ผ่านเข้าเมืองได้ และอาจต้องพิจารณาประกอบกับหลักฐานเพิ่มเติม อาทิ บัตรประชาชน, บัตรพนักงาน หรือเครดิตการ์ด เป็นต้น ...

                   (ทางบริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการคืนค่าทัวร์ทั้งหมด สำหรับผู้ที่ไม่สามารถเข้าประเทศญี่ปุ่นได้ หรือค่าทัวร์บางส่วนสำหรับผู้ที่เปลี่ยนแปลงรายการการท่องเที่ยวขณะเดินทาง)

§ การนำเข้าสิ่งของโดยปลอดภาษี ...ทางด่านศุลกากรอนุญาตให้นำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2ขวด, บุหรี่ 1ห่อ หรือประมาณ  200 มวน, ยาสูบ 500 กรัม หรือซิการ์ 100 มวน , น้ำหอม 2 ออนซ์, ของกำนัลตลอดจนของที่ระลึก มูลค่าไม่เกิน 2แสนเยน 

 มิฉะนั้น ต้องเสียภาษี (สำหรับบุคคลที่อายุยังไม่ถึง 19ปี และอายุเพียง 19 ปี ไม่อนุญาตให้นำเข้าบุหรี่หรือเครื่องดื่มมีแอลกอฮอร์) ส่วนระเบียบเกี่ยวกับอนามัยพืช ผลไม้ อาหารต่างๆ ห้ามนำเข้าทั้งสิ้น !!!

 

น้ำประปา น้ำประปาที่ประเทศญี่ปุ่นสะอาด โดยทั่วไปสามารถดื่มได้

กระแสไฟฟ้า          ญี่ปุ่นใช้กระแสไฟฟ้า 110 โวลต์ (ประเทศไทย 220 โวลต์)

  (เป็นปลั๊กสองขาแบน)โรงแรมส่วนใหญ่มีบริการหัวแปลงปลั๊กสองขาแบนสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าจากประเทศไทย

(ควรนำหัวต่อปลั๊กแบบแบนไปเอง เนื่องจากทางโรงแรมอาจมีไว้ให้บริการไม่เพียงพอ)

                  เวลาท้องถิ่น      ประเทศญี่ปุ่นเวลาเร็วกว่าประเทศไทย 2 ชั่วโมง

 

       การแต่งกาย        ควรจัดเตรียมเสื้อผ้าไว้สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวที่จำเป็นและ

              เหมาะกับสภาพอากาศ และอุณหภูมิของช่วงการเดินทาง

ยารักษาโรค             สำหรับท่านที่ต้องใช้ยาประจำตัว กรุณานำยาติดตัวไปด้วย (ควรเตรียมเผื่อไว้)

และควรแจ้งมัคคุเทศก์ให้ทราบด้วย

ภาษา   ประชากรญี่ปุ่นส่วนใหญ่ใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาหลัก ส่วนภาษาอังกฤษตามสถานที่สำคัญ เช่น โรงแรม, สนามบิน, สถานที่ท่องเที่ยว หรือ ตาม เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลท่องเที่ยวสามารถพูดภาษาอังกฤษได้

   เครดิต การ์ด          สามารถใช้ได้ตามโรงแรม, ห้างสรรพสินค้าในเมืองใหญ่, ร้านค้า และร้านอาหารใหญ่ๆ

การให้ทิป    หากพอใจ ชื่นชอบในการบริการของมัคคุเทศก์ และพนักงานขับรถ ควรให้ทิปเพื่อเป็นกำลังใจ

กระเป๋าเดินทาง          น้ำหนักกระเป๋าเดินทาง 1 ใบ ไม่เกิน 20 กิโลกรัม ต่อท่าน

 (หากน้ำหนักเกิน ทางสายการบินอาจจะเรียกเก็บค่าระวางเพิ่มได้) ... ควรใส่กุญแจอย่างหนาแน่น

สกุลเงิน     สกุลเงินญี่ปุ่น คือ เงินเยน ในท้องตลาดใช้ได้แต่เงินเยนเท่านั้น ดอลล่าร์สหรัฐแลกได้ตามธนาคาร และโรงแรม (อัตราแลกเปลี่ยน 100 เยน ประมาณ 33 บาท)

ช่วงเวลาเปิด-ปิดร้าน :

§ ร้านค้าโดยทั่วไปเปิดบริการทุกวัน  ตั้งแต่เวลา 10:00 21:00 นาฬิกา

§ ห้างสรรพสินค้าจะปิดทำการในวันธรรมดา 1 วันต่อสัปดาห์  วันหยุดของห้างจะไม่ตรงกันทุกห้าง โปรดสังเกตว่าห้างสรรพ  สินค้ามักจะปิดเร็วกว่าร้านค้าอื่นๆ ประมาณ 1 ชั่วโมง  (ราวๆ 19:00 นาฬิกา)

สินค้าที่น่าซื้อ : เครื่องใช่ไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์, กล้องถ่ายรูป,แว่นตา, นาฬิกา,  เครื่องสำอาง, ชาเขียว, ชุดยูคาตะ เป็นต้น

 โทรศัพท์   
โทรจากประเทศไทย ไปญี่ปุ่น

โทรจากเครื่องโทรศัพท์ของ True กด 009-81-รหัสเมือง-เบอร์โทรศัพท์

โทรจากเครื่องขององค์การโทรศัพท์ กด 001-809-81-รหัสเมือง-เบอร์โทรศัพท์

โทรจากมือถือทุกระบบ กด 009-81-รหัสเมือง-เบอร์โทรศัพท์  (อัตราค่าบริการนาทีละ 7 บาท)

โทรกลับประเทศไทยโดยบัตรโทรศัพท์ มีขายทั่วไปตามเคาน์เตอร์โรงแรม, ซุปเปอร์มาร์เก็ต

และสถานที่ท่องเที่ยว  ราคาเริ่ม 1,000 เยน

กรุงเทพฯ  :001-010-662-หมายเลขโทรศัพท์เจ็ดหลัก

ต่างจังหวัด : 001-010-66 ตามด้วยรหัสเมืองโดยตัดศูนย์ออก-หมายเลขโทรศัพท์หกหลัก

โทรภายในญี่ปุ่น : รหัสเมือง / มือถือ - หมายเลขโทรศัพท์

 

ระบบ GSM สำหรับท่านที่ต้องการนำโทรศัพท์มือถือไปจากประเทศไทย

ต้องนำเครื่องไปเปลี่ยนที่ศูนย์บริการ AIS (ขาเข้า) ชั้น 2 สนามบินสุวรรณภูมิ

(เปิดตลอด 24 ชม.) โดยสามารถจองเครื่องได้ 7 วันก่อนการเดินทาง และรับเครื่องได้ 1 วันก่อนการเดินทาง ซึ่งต้องวางเงินมัดจำ หรือวางมัดจำด้วยบัตรเครดิต เป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท (หมายเลยศูนย์ที่ติดต่อ 089-814-7500) ซึ่งท่านต้องเปิดใช้บริการโทรข้ามแดนจากเครือข่ายโทรศัพท์ของท่าน ใช้โทรกลับประเทศไทย

โทรเข้าเครื่องมือถือเหมือนกัน กด +66-รหัสมือถือตัด 0 ออก-เบอร์โทรศัพท์

โทรเข้าเครื่องโทรศัพท์ธรรมดา กด+66-รหัสจังหวัดตัด 0 ออก-เบอร์โทรศัพท์ (อัตราค่าบริการ นาทีละ 100 บาท)

ใช้รับเข้าจากประเทศไทย

- บุคคลอื่นที่ต้องการติดต่อท่านในระหว่างเดินทางอยู่ประเทศญี่ปุ่น สามารถกดโทรศัพท์ปกติ คือ รหัสมือถือ-เบอร์โทรศัพท์ของท่าน (ค่าบริการ ผู้โทรเสียอัตราปกติของระบบโทรศัพท์นั้นในประเทศไทย ที่ญี่ปุ่น ผู้รับเสียนาทีละ 25 บาท)

-ใช้โทรหาเบอร์ในประเทศญี่ปุ่น(ขณะอยู่ที่ญี่ปุ่น)อัตราค่าบริการ นาทีละ 20.82-50.89 บาท

- รับ-ส่งข้อความ SMS การส่งข้อความกลับเมืองไทย (อัตราค่าบริการ ข้อความละ 13.51-16.10 บาท)ส่วนการรับข้อความที่ส่งจากเมืองไทย ไม่เสียค่าบริการใดๆ

โทรจากญี่ปุ่น กลับประเทศไทย โดยใช้เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ

ระบบ DTAC  เช่นเดียวกันให้นำเครื่องไปเปลี่ยนที่ศูนย์บริการ และขอเปิดใช้บริการโทรข้ามแดน ล่วงหน้าก่อน 7 วัน ต้องนำเครื่องไปเปลี่ยนที่ศูนย์บริการ DTAC SHOP ชั้น 2 (ขาเข้า) ประตู หมายเลข 7 สนามบินสุวรรณภูมิ (เปิดตลอด 24 ชม.) โดยสามารถจองและรับเครื่องได้ภายใน 24 ชม. โดยต้องวางมัดจำด้วยบัตรเครดิต เป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท หรือเงินสด เป็นจำนวนเงิน 15,000 บาท ซึ่งท่านต้องแจ้งเปิดใช้บริการโทรข้ามแดนจากเครือข่ายโทรศัพท์ของท่าน

ใช้โทรกลับประเทศไทย

§ โทรเข้าเครื่องมือถือเหมือนกัน กด +66-รหัสมือถือ   ตัด 0  ออก-เบอร์โทรศัพท์

§ โทรเข้าเครื่องโทรศัพท์ธรรมดา กด+66-รหัสจังหวัด   ตัด 0 ออก-เบอร์โทรศัพท์

    (อัตราค่าบริการ นาทีละ 87.41-102.68 บาท)

ช้รับเข้าจากประเทศไทย

- บุคคลอื่นที่ต้องการติดต่อท่านในระหว่างเดินทางอยู่ประเทศญี่ปุ่น สามารถกดโทรศัพท์ปกติ คือ รหัสมือถือ-เบอร์โทรศัพท์ของท่าน  (ค่าบริการ ผู้โทรเสียอัตราปกติของระบบโทรศัพท์นั้นในประเทศไทย ที่ญี่ปุ่น ผู้รับเสียนาทีละ 25 บาท)

- ใฃ้โทรหาเบอร์ในประเทศญี่ปุ่น(ขณะอยู่ที่ญี่ปุ่น)อัตราค่าบริการ นาทีละ 20.82-50.89 บาท

-รับ-ส่งข้อความ SMS การส่งข้อความกลับเมืองไทย (อัตราค่าบริการ ข้อความละ 13.51-16.10 บาท)ส่วนการรับข้อความที่ส่งจากเมืองไทย ไม่เสียค่าบริการใดๆ

 

หมายเหตุ : โปรดระลึกไว้เสมอว่า
ไปไหนมาไหนในญี่ปุ่น ต้องพกผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษทิชชูเสมอ ร้านอาหารในญี่ปุ่นจำนวนมากไม่บริการผ้าเช็ดมือ มีบริการ

แต่เพียง "โอชิโบริ" เท่านั้น (ผ้าร้อนเช็ดมือ)
• ส้วมสาธารณะตามริมถนน หรือในสถานีรถไฟ มิใช่จะมีกระดาษชำระหรือกระดาษเช็ดมือไว้บริการทุกแห่งเสมอไป
• โรงแรมระดับดีจะมีอุปกรณ์ใช้ส่วนตัวบางอย่างให้ใช้ฟรี โดยไม่จำเป็นต้องเช่าได้แก่ เครื่องเป่าผม และเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า
• น้ำก๊อกในญี่ปุ่นทุกแห่งปลอดภัยดื่มได้ น้ำแร่มีจำหน่ายทั่วไป

บริการข่าวสารการท่องเที่ยว

ศูนย์ข่าวสารการท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่น เป็นสำนักงานให้ข่าวสารการท่องเที่ยวและความช่วยเหลือแก่นักท่องเที่ยว

ชาวต่างประเทศขณะอยู่ในญี่ปุ่นตามเมืองต่างๆ

 

"ไอ" อินฟอร์เมชั่น เซ็นเตอร์ : นอกจากบริการของ ที ไอ ซี ดังกล่าวแล้ว อสท. ญี่ปุ่น ยังได้จัดให้มีระบบให้ข่าวสารการท่องเที่ยวด้วย เครื่องหมาย "ไอ" เป็นที่สังเกตตั้งอยู่ตามสถานีในเมืองต่างๆ กว่า 126 แห่ง ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ให้ข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษได้
บริการล่าม-มัคคุเทศก์ : ต้องการมัคคุเทศก์ที่มีใบอนุญาต ติดต่อที่ สมาคมมัคคุเทศก์แห่งประเทศญี่ปุ่น โทร. 03-3213-2706 แฟกซ์. 03-3213-2707 หรือสหพันธ์มัคคุเทศก์มีใบอนุญาตแห่งประเทศญี่ปุ่น โทร. 03-3380-6611
แฟกซ์. 03-3380-6609 เวลาทำการ จันทร์ - ศุกร์ เวลา 10.00 - 17.30 น.

สิ่งที่ควรทราบ         :

§ เหตุฉุกเฉินติดต่อหมายเลข ตำรวจหมายเลข 110 / ดับเพลิง, รถพยาบาล 119

§ หน่วยงานตำรวจให้ข่าวสารภาษาอังกฤษทั่วไป 3501-0110 / แจ้งของหาย-รับของหายคืน

03-3814-4151 ในกรณีฉุกเฉิน ท่านใช้โทรศัพท์โดยไม่ต้องหยอดเหรียญ 10 เยน  ที่ตู้โทรศัพท์สาธารณะ เพียงแต่กดปุ่มสีแดงที่เครื่องโทรศัพท์ก่อนหมุนเรียก,  หากท่านต้องการแพทย์หรือปฐมพยาบาล  โปรดติดต่อโรงแรมที่เคาน์เตอร์รับแขกด้านหน้าหรือขอร้องใครสักคนแถวๆ นั้น คำพูดภาษาญี่ปุ่น

“ขอร้องให้ช่วยพาไปพบแพทย์”   คือ   อิฉะ นิ ทสึเรเต๊ะ อิตเต๊ะ กุดาไซ

 “ตามหมอให้หน่อย”                   คือ   อิฉะ โอ๊ะ ยนเด๊ะ กุดาไซ

 

 

 

 

กรมการตรวจคนเข้าเมืองประเทศญี่ปุ่นจะเริ่มใช้ระบบใหม่ ในการตรวจคนเข้าเมือง

ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2550

ตามขั้นตอนดังนี้

1.เมื่อเดินทางถึงประเทศญี่ปุ่น เจ้าหน้าที่จะอ่านบันทึกลายนิ้วมือด้วยอุปกรณ์พิเศษ

2.พร้อมถ่ายรูปหน้าตรง

3.จากนั้นเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองจะทำการพิจารณา และซักถามข้อมูล

**ในกรณีชาวต่างชาติซึ่งไม่อยู่ตามเงื่อนไขที่ได้รับการยกเว้นการตรวจสอบดังกล่าวข้างต้นและหากปฏิเสธการอ่านลายนิ้วมือพร้อมการถ่ายรูปแล้ว เจ้าหน้าที่จะไม่อนุญาตให้ผู้นั้นเข้าประเทศญี่ปุ่นและผลักดันให้กลับประเทศ **

ยกเว้นสำหรับชาวต่างชาติที่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ข้างล่างนี้

1. บุคคลที่ได้รับอนุญาตให้พำนักถาวรเป็นกรณีพิเศษ

2. บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี

3.บุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่โดยได้รับการรับรองสถานภาพการพำนักในฐานะนักการทูตและข้าราชการ

4.บุคคลที่ได้รับการเชิญจากหน่วยงานราชการในประเทศญี่ปุ่น

5.บุคคลที่ได้รับการพิจารณาว่ามีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับบุคคลในข้อ(3)และ(4) ตามกฎระเบียบ กระทรวงยุติธรรมญี่ปุ่น

ผู้โดยสารกรุณาเตรียมสัมภาระก่อนเดินทางออกจากสนามบินทั้งไทยและญี่ปุ่น

1. นำสัมภาระที่เป็นของเหลวใส่ในกระเป๋าใบใหญ่เพื่อ Load ขึ้นเครื่อง

2. ของเหลวที่อนุญาตให้ถือขึ้นเครื่อง ได้แก่ ยา,นมสำหรับเด็กทารก,ครีม หรืออื่นๆที่จำเป็น

   ระหว่างการเดินทาง (ต้องบรรจุถุงพลาสติก เตรียมไว้ให้เจ้าหน้าที่ตรวจ)

3. กรุณาถอดเสื้อคลุม และอุปกรณ์อิเลคทรอนิก ทุกชนิด ใส่ถาดเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ

   ความปลอดภัยก่อนขึ้นเครื่อง

·ข้อบังคับในการนำของเหลวขึ้นเครื่อง

1.นำของเหลวทั้งหมด เช่น น้ำหอม โลชั่น ครีมทาผิว เจลใส่ผม ยาสีฟัน โฟม ลิปกลอส สเปรย์  ฯลฯ แพ็กลงในกระเป๋าเดินทาง

ใบใหญ่ที่โหลดเข้าใต้ท้องเครื่องให้หมด ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดความ ล่าช้าในการผ่านการตรวจที่ด่าน

2. สำหรับบางคนที่มีความจำเป็นต้องการใช้ของเหลวบางอย่างบนเครื่อง โดยเฉพาะในการเดินทางไกล เช่น ยาน้ำ น้ำยาล้าง

คอนแท็กเลนส์ เครื่องสำอาง รวมทั้งพิมเสนน้ำหรือยาหม่อง  สามารถนำขึ้นเครื่องได้ แต่ต้องนำของเหลวที่จะนำติดตัวไป

ด้วยทุกชิ้น (ไม่จำกัดจำนวน แต่ถุงต้องปิดสนิท) บรรจุลงในถุงพลาสติกใสที่ปากเป็นซิปล็อก (ต้องเป็นถุงซิปล็อกเท่านั้น)

3. สำหรับขวด กระปุก หรือหลอดทุกชิ้น จะต้องมีขนาดไม่เกิน 100 มิลลิลิตร หรือ 3 ออนซ์ 

   ยาสีฟันหลอดใหญ่ที่ม้วนพับจนเหลือต้นหลอดไม่อนุญาตให้นำขึ้นบนเครื่อง                                                                                                                                    

4. สำหรับอาหารของเด็กและผู้ป่วยรวมทั้งยา ถ้าจำเป็นจะต้องนำของเหลวที่มีขนาดเกิน 100 มิลลิลิตร ติดตัวขึ้นเครื่อง

ในบางกรณีจะมีการอนุโลมผ่อนผันให้ แต่จะต้องนำของไปแสดงที่ด่านตรวจก่อน และขึ้นอยู่กับการพิจารณาของเจ้าหน้าที่

ของทางด่านตรวจว่าจะอนุญาตหรือไม่

5.เมื่อผ่านด่านตรวจรักษาความปลอดภัยก่อนเข้าเขตผู้โดยสารขาออก จะต้องนำถุงซิปล็อกใส่ของเหลวออกมาจากกระเป๋าถือ และแยกใส่ในถาดต่างหาก เพื่อผ่านการเอ็กซ์เรย์

ข้อมูลจากบริษัทควอลิตี้ เอ็กซ์เพรสจำกัด


ข่าวจากสถานเอกอัครราชทูต

  • การจดทะเบียนสมรสและจดทะเบียนการหย่าตามกฎหมายไทย ผู้ร้อง(คู่สมรสหรือคู่หย่า)ต้องไปดำเนินการด้วยตนเองเท่านั้น จะมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปดำเนินการแทนไม่ได้ เพราะจะต้องไปแสดงเจตนาและลงลายมือชื่อในทะเบียนต่อหน้านายทะเบียน มิเช่นนั้นจะถือว่าเป็นการจดทะเบียนที่ไม่ถูกต้อง และไม่มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายไทย

タイ王国大使館タイビザオンライン事前予約

การจองนัดขอวีซ่าไทยผ่านระบบออนไลน์(เท่านั้น)

   สำหรับคนต่างชาติที่ต้องการยื่นคำร้องขอวีซ่าเข้าประเทศไทยที่สถานเอกอัคราชทูตไทย กรุณาจองนัดผ่านระบบออนไลน์ในเวบไซต์ของสถานทูตก่อนที่จะไปยื่นคำร้องที่สถานทูต 

รายละเอียดกรุณาอ่านเพิ่มเติมจาก Thai Network in Japan

บทความ




  • คุณเตรียมความพร้อมรับแผ่นดินไหวแล้วหรือยัง

โดยที่สถาบันวิจัยแผ่นดินไหว  มหาวิทยาลัยโตเกียวคาดการณ์ว่ามีความเป็นไปได้อย่างสูง   ที่จะเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในญี่ปุ่น โดยมีศูนย์กลางใกล้กรุงโตเกียว ภายในระยะเวลา 4 ปีนี้  จึงขอแนะนำให้คนไทยที่พำนักอยู่ในประเทศญี่ปุ่นเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน หากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิในญี่ปุ่น ดังนี้

อ่านเพิ่มเติม

อบรมฟรี!!!